การเติมสารเคมีสระว่ายน้ำ

สารเคมีสระว่ายน้ำ

สิ่งสำคัญที่เข้ามาช่วยในการดูแลรักษาสระว่ายน้ำ คือ สารเคมีสระว่ายน้ำ โดยเป็นการนำมาใช้เพื่อควบคุมสมดุลน้ำ กำจัดเชื้อโรค แบคทีเรีย ไวรัส ฯลฯ ที่ทำให้สระว่ายน้ำสกปรก ไม่สะอาด และไม่ปลอดภัยต่อการใช้งาน

สารบัญ

1.สิ่งที่ทำให้สระว่ายน้ำสกปรก

2.ค่า pH ของสระว่ายน้ำ

3.วิธีเติมสารเคมีสระว่ายน้ำ

4.อัตราการเติมสารเคมี

สิ่งที่ทำให้สระว่ายน้ำสกปรก

Swimming Pool by Freepik.com

ปัจจัยที่ทำให้สระว่ายน้ำสกปรกมี 3 อย่างด้วยกัน จากการที่มีสิ่งแปลกปลอมต่างๆลงสู่สระว่ายน้ำหรือมาพร้อมกันกับน้ำ ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น เพราะน้ำเป็นสิ่งที่ปนเปื้อนสิ่งสกปรกได้ง่าย ทำให้ต้องมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี โดยปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อสระว่ายน้ำนั้นมีดังนี้

1. ผู้ใช้งาน ทุกๆครั้งที่เราไปใช้บริการสระว่ายน้ำ ก่อนที่เราจะลงเล่นน้ำ มักจะต้องล้างตัวก่อนเพื่อที่จะชำระล้าง เหงื่อ น้ำหอม ครีม แบคทีเรีย เซลล์ผิวหนัง ฯลฯ จากตัวผู้ใช้งาน ที่เมื่อลงไปในสระว่ายน้ำ จะทำให้สระเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย แต่ถึงอย่างไรการชำระล้างร่างกายก่อนลงเล่นก็ไม่ได้ขจัดสิ่งสกปรกบนตัวมนุษย์ได้ทั้งหมด เพียงแต่ลดจำนวนลงเท่านั้นเอง

Pattaya by freepik.com

2. สภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้สระว่ายน้ำสกปรกได้เช่นกันแม้จะไม่ได้มีการใช้งานสระว่ายน้ำเกิดขึ้นเลยก็ตาม โดยสิ่งที่ทำให้น้ำในสระสกปรกได้จะมี

– ลม คือการที่มีการพัดเอาฝุ่น ใบไม้ เศษขยะ แบคทีเรีย ฯลฯ ลงมาในสระว่ายน้ำ ทำให้สระว่ายน้ำสกปรกได้ง่าย

– น้ำฝน ในปัจจุบันน้ำฝนอาจจะนั้นไม่ได้บริสุทธิ์เหมือนสมัยก่อนที่มีการนิยมกรองมาเพื่อใช้ในการอุปโภค บริโภค เพราะในปัจจุบันจะปะปนไปด้วยฝุ่นละออง สารเคมี ที่เป็นพิษ และมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย เนื่องจากบนชั้นบรรยากาศมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีโรงงานอุตสาหกรรม หรือในพื้นที่ที่มีการคมนาคมค่อนข้างหนาแน่น เมื่อน้ำฝนลงสู่สระว่ายน้ำก็ทำให้สมดุลน้ำในสระเปลี่ยนไป เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค

– แสงแดด แม้แสงแดงและอุณหภูมิที่สูงขึ้นคือสิ่งที่สามารถฆ่าเชื้อโรค แต่แสงแดดก็สามารถเป็นสิ่งที่ทำลายสารเคมีในการควบคุมสมดุลน้ำ ทำให้สามารถเกิดการเติบโตของเชื้อโรคได้เช่นกัน

Dam by freepik.com

3. แหล่งน้ำ ที่นำมาใช้ในสระว่ายน้ำ มักมีสารอินทรีย์ สารเคมี และแร่ธาตุต่างๆ ทำให้เกิด สีและกลิ่น ได้เช่นกัน และจะสกปรกได้เร็วขึ้น หากนำมาใช้โดยไม่ผ่านการฆ่าเชื้อที่ถูกต้อง

ค่า pH ของสระว่ายน้ำ

เช็คค่า pH สระว่ายน้ำ

คือค่าที่เอาไว้วัดค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำ โดยค่า pH ของสระว่ายน้ำที่เหมาะสม

หากค่า pH ของน้ำ สูงเกินไป จะทำให้น้ำในสระมีความเป็นด่าง คลอรีนในสระไม่ทำงาน ไม่สามารถฆ่าเชื้อ ขาดประสิทธิภาพ ทำให้เกิดน้ำขุ่น น้ำเขียว เกิดตะกรัน หรือ สนิมที่ผนังของสระ ไม่สามารถลงเล่นได้ จะทำให้ระคายเคืองผิวหนังและแสบตา

หากค่า pH ของน้ำ ต่ำเกินไป จะทำให้ น้ำในสระมีความเป็นกรด ทำให้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานที่ทำให้ แสบตา ระคายเคืองผิวหนัง ทำให้ผมร่วง และฟันผุได้ด้วย และยังสามารถกัดกร่อนกระเบื้อง ยาแนว ทำให้เกิดความเสียหายได้เร็วขึ้น

โดยค่า pH ของสระว่ายน้ำที่เหมาะสม ควรให้มีค่าอยู่ที่ระหว่าง 7.4-7.6 และควรที่จะตรวจสอบค่า pH อยู่สม่ำเสมอ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน และยืดอายุการใช้งานของวัสดุ อุปกรณ์สระว่ายน้ำอีกด้วย

วิธีเติมสารเคมีสระว่ายน้ำ

  1. หลังจากทำความสะอาดสระว่ายน้ำ  ให้เช็คค่า pH  และค่าคลอรีน  ของน้ำในสระ  โดยปกติการเช็คค่า pH และค่าคลอรีน  จะทำทุกวันหลังจากใช้สระว่ายน้ำ
  2. ปรับค่า  pH  อยู่ที่ 7.4-7.6  PPM.
  3. การปรับค่าคลอรีน  (ควรทำทุกวัน)

–   ในฤดูร้อน ให้ปริมาณคลอรีนอยู่ที่    3   PPM

–   ในฤดูฝน ให้ปริมาณคลอรีนอยู่ที่    2   PPM

–   ในฤดูหนาว ให้ปริมาณคลอรีนอยู่ที่    2   PPM

การทำซุปเปอร์คลอรีน  คือการเติมคลอรีน  2-3 เท่าจากปกติ ปรับค่าคลอรีนให้อยู่ที่ 4  PPM  โดยทำหลังจากวันที่มีคนลงเล่นน้ำจำนวนมาก (สระว่ายน้ำที่ให้บริการ) หรือมีการสะสมของตะไคร่ในสระว่ายน้ำ  หรือเพื่อทำลายแอมโมเนียและสิ่งเจือปนที่ได้สะสมไว้ในน้ำ     การทำซุปเปอร์คลอรีนควรทำสัปดาห์ละ 1 – 2  ครั้ง

การเติมโซดาแอช (Soda ash) ใช้เพื่อเพิ่มความเป็นด่างของน้ำ  ใช้เติมในกรณีที่ค่า pH  ต่ำกว่า 7.4

การเติมกรดเกลือ   ใช้เพื่อเพิ่มความเป็นกรดของน้ำ   ใช้เติมในกรณีที่ค่า  pH  สูงกว่า 7.6

การเติมสารส้ม  สารส้มจะใช้ในกรณีที่น้ำในสระขุ่นเขียวมีตะกอนมาก  ก่อนจะเติมสารส้มต้องเติมโซดาแอซก่อนเพื่อให้ค่า pH  อยู่ที่ 8 – 9

– จากนั้นจึงเติมสารส้มตามปริมาตรของน้ำ  ดูจากตาราง อัตราการเติมสารเคมี

– เมื่อเติมสารส้มแล้วให้เปิดวาล์วน้ำ  ให้น้ำในสระหมุนเวียนโดยไม่ผ่านระบบกรอง

– เปิดทิ้งไว้ 2 ชั่วโมง  และปิดเครื่อง  ทิ้งไว้ประมาณ 8-10 ชั่วโมง  ตะกอนจะตกหมดทั้งสระ

–  เมื่อตะกอนตกหมดแล้ว ให้ดูดตะกอนออกไปทิ้งที่ท่อระบายน้ำ ( น้ำจะไม่ผ่านระบบกรอง )  เมื่อดูดตะกอนเสร็จ  ให้ซุปเปอร์คลอรีนและปรับค่า pH

ข้อมูลเพิ่มเติมในการดูแลรักษาสระว่ายน้ำ

–          หากใส่สารส้ม ไม่จำเป็นต้องใส่คลอรีน  เมื่อดูดตะกอนแล้วจึงใส่คลอรีนทีหลัง

–          ตะกอนจะตกดีมาก  หากค่า  pH  อยู่ที่  7.4  – 7.6  PPM

อัตราการเติมสารเคมี

สารเคมี

คลอรีน 90% (TRICHLORO ISOCYANURIT ACID 90% )

โซดาแอช   ( SODIUMCARRBONATE )

กรดเกลือ ( HYDROCHOL  ACID  35 %)

สารส้ม (ALUM)

ปริมาตรน้ำ

100  คิว

100  คิว

100   คิว

40  คิว

จำนวนกรัม

200 กรัม

3,000 กรัม

1,000   กรัม

500  กรัม

หมายเหตุ

–  กรณีเติมสารส้ม จะต้องเติมโซดาแอซ (Soda ash) ก่อนเพื่อให้ค่า pH   สูงขึ้น อัตราส่วนโซดาแอซประมาณ 30 % ของสารส้ม  เช่น  สารส้ม 10 กก. จะต้องใช้โซดาแอซ  3  กก. ควบคู่กันไป ทั้งนี้ค่า PH  จะต้องอยู่ที่  7.4 – 7.6  PPM.

สภาพน้ำ

pHต่ำกว่า7.2

pHสูงกว่า7.8

คลอรีน0.6

คลอรีน 1

เคมี

เติมโซดาแอซ

เติมกรดเกลือ

เติมคลอรีน 90%

เติมคลอรีน 90%

จำนวน

1 กก. / น้ำ 100 คิว

1 กก. / น้ำ 100 คิว

150 กรัม / น้ำ 100 คิว

100 กรัม / น้ำ 100 คิว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: